อากาศพลศาสตร์ (Aerodynamics) แพนอากาศ (Airfoils) เครื่องบิน ปีกเครื่องบิน จรวด ยานอวกาศ กังหันลม ใบพัด การคำนวณ CFD รวมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับอากาศพลศาสตร์

สปอยเลอร์ อุปกรณ์เพิ่มแรงเสียดทานอากาศ

| วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555
สปอยเลอร์ที่ติดตั้งบนส่วนท้ายของรถยนต์ มีจุดประสงค์ในการเพิ่มแรงกดที่ส่วนท้ายของรถยนต์ ทำให้รถยนต์ยึดเกาะถนนได้ดีขึ้น โดยทั่วไปแล้วในขณะที่รถยนต์วิ่งด้วยอัตราเร็วสูง จะเกิดแรงยกกระทำกับรถยนต์ ทำให้การยึดเกาะถนนของรถยนต์ต่ำลง ผู้ขับขี่จะรู้สึกได้ว่ารถยนต์มีอาการร่อนไปมา และโดยเฉพาะอย่างในขณะเลี้ยวโค้ง รถยนต์จะมีอาการท้ายปัดทำให้เสียการทรงตัว สปอยเลอร์จะเพิ่มแรงกดในรถยนต์ ยางรถยนต์จึงยึดเกาะถนนได้ดีขึ้น 

รูปทรงของรถยนต์ เเต่ละรุ่นเเต่ละยี่ห้อนั่น ต่างกัน เเรงต้านอากาศ ที่กระทำกับรถยนต์เเต่ละรุ่น เเต่ละยี่ห้อนั่น ก็ต่างกันเพราะฉะนั้น การติดตั้ง สปอย์เลอร์ต้องดูให้เหมาะกับรูปทรงของรถยนต์เเต่ละรุ่นด้วยเเละสปอย์เลอร์ที่ติดท้ายรถยนต์จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อมีเเรงกดของอากาศจากด้านท้ายรถยนต์ที่เพียงพอ เเละการที่จะได้มาด้วยเเรงกดอันมหาศาลนั้น ก็ต้องมีปัจจัยอย่างนึงมาเกี่ยวข้อง นั่นก็คือ ความเร็วของรถยนต์  ถ้าเราขับรถยนต์ไม่ได้ความเร็วที่เหมาะสมเเล้ว สปอย์เลอร์ที่ติดอยู่ท้ายรถก็จะไม่ทำหน้าที่อะไรเลยนอกจากติดไว้เท่ห์ๆ เท่านั่น เพราะเเรงกดอากาศไม่เพียงพอ ส่วนความเร็วแค่ไหนที่มากพอ ที่จะทำให้สปอย์เลอร์ทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ เพราะสปอยเลอร์เเต่ละเเบบไม่เหมือนกันรูปทรงรถยนต์เเต่ละรุ่นก็ไม่เหมือนกัน เเต่คาดว่าคงต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 140 km/h สปอย์เลอร์ถึงจะเริ่มทำงานเเละสร้างเเรงกดให้กับรถยนต์ของเราได้ครับ

อีกอย่าง คือ เรื่องอัตราการบริโภคน้ำมันที่จะสูงขึ้น เพราะแรงต้านอากาศในระดับที่ไม่เหมาะสมขณะรถเคลื่อนที่ แรงกดของลมที่เกิดขึ้นจะไปเพิ่มน้ำหนักส่วนเกินให้กับรถ ซึ่งนั่นก็คือ โหลดที่เครื่องยนต์ต้องแบกรับไว้ ระดับผู้ผลิตการออกแบบและการใช้สปอยเลอร์เขาไม่ได้ทำกันอย่างไร้หลักการ ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเอียงของสปอยเลอร์กับแรงกดที่เกิดขึ้น ทั้งหมดได้รับการคำนวณมาอย่างถี่ถ้วน 

อย่างไรก็ตาม นอกจากสปอยเลอร์ที่ส่วนท้ายของรถยนต์แล้ว ปัจจุบันได้มีการออกแบบให้สปอยเลอร์ที่ส่วนหน้าของรถยนต์ซึ่งมักพบเห็นบริเวณใต้กันชนหน้า และยังมีสปอยเลอร์ข้างอีกด้วย ทำให้เกิดแรงกดบนรถยนต์ตลอดทั้งคัน คือแรงกดที่ส่วนหน้า ส่วนท้าย และด้านข้าง สิ่งเหล่านี้ช่วยให้รถยนต์ยึดเกาะถนนได้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะเลี้ยวโค้งที่อัตราเร็วสูง 



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น