แรงทางอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamics forces)
ในบทความนี้จะพูดถึงแรงทาง
อากาศพลศาสตร์ (Aerodynamics forces) ที่เกิดขึ้นบนแพนอากาศ การที่แพนอากาศเคลื่อนที่ผ่านสนามการไหลของของไหลหรือการที่ของไหล (Flow) เคลื่อนที่ผ่านแพนอากาศ จะมีแรงและโมเมนต์ทางอากาศพลศาสตร์เกิดกับแพนอากาศอันเป็นผลมาจากแรงเนื่องจากการกระจายความดัน (Pressure distribution) และแรงเนื่องจากการแจกแจงความเค้นเฉือน (Shear stress distribution) รอบแพนอากาศ ดังแสดงในรูปที่ 1 ความดันจะมีทิศตั้งฉากกับผิววัตถุเสมอ ความดันที่มีค่าบวกแสดงด้วยเวกเตอร์ทิศพุ่งเข้าหาผิววัตถุ ส่วนความดันที่มีค่าเป็นลบ (ค่าน้อยกว่าศูนย์) แทนด้วยทิศพุ่งออกจากผิววัตถุ ส่วนความเค้นเฉือนมีทิศสัมผัสกับผิววัตถุ
รูปที่ 1
เมื่ออินทิเกรตแรงเนื่องจากความดัน
และความเค้นเฉือน
รอบแพนอากาศจะได้แรงลัพธ์ R และโมเมนต์
สุทธิ M บนแพนอากาศดังแสดงในรูปที่ 2
สามารถแตกองค์ประกอบของแรงลัพธ์ R ได้เป็น 2 รูปแบบ ดังรูปที่ 2 ให้
V เป็นความเร็วลมสัมพัทธ์ในที่นี้ประมาณให้มีค่าเท่ากับความเร็วลมในระยะไกลจากแพนอากาศ หรือที่เรียกว่า ความเร็วกระแสอิสระ (freestream velocity) ส่วนมุมปะทะ (angle of attack) เป็นมุมระหว่างความเร็วสัมพัทธ์
กับแนวเส้นคอร์ดของแพนอากาศ เราจะนิยามให้
L = แรงยก (Lift) คือ องค์ประกอบของแรงลัพธ์
ในทิศตั้งฉากกับ
ความเร็วลมสัมพัทธ์
D =
แรงต้าน (Drag) คือ องค์ประกอบของแรงลัพธ์
ในทิศขนานกับ
ความเร็วลมสัมพัทธ์
N = แรงตั้งฉาก (Normal force) คือ องค์ประกอบของแรงลัพธ์
ในทิศตั้งฉากกับคอร์ด
A =
แรงแนวแกน (Axial force) คือ องค์ประกอบของแรงลัพธ์
ในทิศขนานกับคอร์ด
รูปที่ 2 แรงลัพธ์และองค์ประกอบของแรงลัพธ์บนแพนอากาศ
สัมประสิทธิ์ของแรงและโมเมนต์ทางอากาศพลศาสตร์
ปริมาณที่สำคัญทางอากาศพลศาสตร์อีกอย่างหนึ่งคือ สัมประสิทธิ์ของแรงและโมเมนต์ ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่มีหน่วย